ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย
(เฉพาะรูปพยัญชนะ)ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะแต่ละหมวด
เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ
แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ
ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น
การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน
คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ (ไตร)
ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์
จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วนการจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์
ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3
ประเภท ดังนี้
อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎฏ
อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ
ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
อักษรต่ำ
มี 24 ตัวแบ่งเป็น
อักษรต่ำคู่
มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ
ฮ
อักษรต่ำเดี่ยว
มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล
งูใหญ่นอนอยู่
ณ ริมวัดโมฬีโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น